วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คุณธรรมสำหรับครู

เรื่อง คุณธรรมสำหรับครู
………………………….
            การ เป็นครูนั้น ถือว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมแก่ประเทศชาติ เพราะครูคือแม่พิมพ์ของชาติ เป็นแม่แบบที่สำคัญยิ่ง ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ครู แปลว่า ผู้หนัก หมายถึงหนักทุกสิ่งทุกอย่าง เริ่มต้นจากภาระงานที่จะต้องเตรียมตัวอย่างหนักเพื่อการสอนให้นักเรียนได้ เข้าใจ หนักในการเป็นภาระให้นักเรียนได้ปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต หนักในการสอนซ่อม สอนเสริม เพื่อให้นักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อนได้เรียนทันคนอื่น นักเรียนที่เรียนเก่งให้ได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้สูงขึ้น หนักในการควบคุมดูแลความปลอดภัย ความประพฤติให้นักเรียนได้รับความปลอดภัยและมีความประพฤติดี หนักในการทุ่มเทเวลาให้กับการสอน หนักในการเสียสละทรัพย์ส่วนตัวให้กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หนัก ในการจัดทำข้อมูลต่าง ๆ เพื่อส่งหน่วยงานระดับเหนือขึ้นไป หรือหน่วยงานอื่นที่ขอความร่วมมือมา หนักในการจัดทำแผนการสอน หรือแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น

            ดัง นั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องมีคุณธรรมอยู่ในจิตใจอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ คุณธรรมสำหรับครูนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระสูตร มีอยู่ 7 ประการ 


คือ
            1.ปิโย  เป็นผู้น่ารัก คือ ครูจะต้องทำตัวเป็นที่น่ารัก น่าเอ็นดู ไม่ทำตัวเป็นขยะของสังคม ทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคม ไม่เป็นที่น่าเกลียดของคนอื่น ในที่นี้ไม่ใช่ว่า ครูจะต้องเป็นคนสวย รูปหล่อ แต่กิริยาอาการต่างหากที่ทำให้ครูเป็นผู้ที่น่ารัก
            2.ครุ  เป็นที่น่าเคารพ  หมาย ถึงครูนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ทำตนให้น่าเคารพบูชาของบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นที่เคารพของลูกศิษย์ การทำตัวเป็นที่เคารพนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง ใครก็ตามที่สามารถทำได้เช่นนี้ก็ถือว่าเป็นครูคนหนึ่งเช่นกัน ท่านจึงกล่าวว่า บิดา มารดา เป็นครูที่ประเสริฐสุดของลูก เป็นครูคนแรก เพราะให้ความน่าเชื่อถือ ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก และเป็นที่น่าเคารพเชื่อฟัง ส่วนครูที่โรงเรียนเป็นครูคนที่สอง เพราะเป็นผู้ที่น่าเคารพในโรงเรียนหรือสังคมที่สองของเด็กนั่นเอง
          3.ภาวนีโย  เป็นผู้ที่น่ายกย่อง  ครู จะต้องทำตัวให้น่ายกย่องชมเชย จะต้องรู้จักการอบรมตนในสิ่งที่ดีงาม สร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่สังคม อย่าได้ทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ หรือไม่ได้รับการยกย่อง แต่ก็ใช่ว่าครูจะทำเพื่อหวังผลจะให้คนอื่นยกย่องชมเชย แต่สิ่งที่ครูทำนั้น เป็นสิ่งที่น่ายกย่องชมเชยยากที่คนอื่นจะทำได้ คอยให้การช่วยเหลือลูกศิษย์ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องให้วิชาความรู้ เรื่องของการเรียน เรื่องของการดำเนินชีวิต ให้คำปรึกษาทุกอย่าง
            4.วัตตา  เป็นผู้ที่รูจักพูด  สิ่ง ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ครูจะต้องคำนึงถึงก็คือการพูดจา คำพูดที่ครูใช้จะต้องเป็นคำพูดทีมีเหตุผล ไม่พูดเหลาะแหละ เป็นคำพูดที่น่าเชื่อถือ ให้ความจริงแก่ทุกคน พูดถูกกาลเทศะ พูดในสิ่งที่เกิดประโยชน์ พยายามละการพูดถึงสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ควรพูดเมื่อถึงเวลาพูด อย่าพูดพร่ำโดยหา

สาเหตุ ไม่ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือคุณธรรมข้อนี้ เป็นคุณธรรมเกี่ยวกับการพูดจา ให้ระวังคำพูดของตนเอง ควรรู้ในสิ่งที่ควรพูด สิ่งไหนไม่ควรพูด
            5.วจนักขโม  รู้จักอดทนต่อถ้อยคำ  การ เป็นครูต้องอดทนต่อการพูดจาถากถาง หรือทนต่อถ้อยคำอันไม่พึงปรารถนา คุณธรรมข้อนี้ เป็นคุณธรรมที่ครูจะต้องพยายามทำให้ได้ เพราะหากครูไม่สามารถอดทนต่อคำกล่าวที่ไม่สบอารมณ์ได้แล้ว สิ่งอื่น ๆ ครูก็ไม่สามารถที่จะทำได้เช่นกันความอดทนอดกลั้นนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นครู หรืออาชีพอื่น จะต้องมีในตัวเอง
            6.คัมภีรัง  กถัง  กัตตา  เป็นผู้ชี้แจงได้ลึกซึ้ง  การ เป็นครูนั้น จะต้องประกอบด้วยความรู้ในแขนงต่าง ๆ สามารถอธิบายหรือชี้แจงได้อย่างถูกต้อง ชัดถ้อยชัดคำ สามารถอธิบายเรื่องยากให้ง่ายได้ ครูจะต้องสามารถอธิบายถึงสิ่งที่ดีงามและเป็นประโยชน์แก่ลูกศิษย์ เรื่องใดที่ลุ่มลึก ครูจะต้องสามารถชี้แจงให้เข้าใจได้ ดังนั้นครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้อย่างแจ่มแจ้ง หรือรู้ชัดแจ้งในสาขาวิชาที่ตนเองศึกษาเล่าเรียนมา หรือในวิชาที่สอน หรือสามารถให้คำปรึกษาแก่นักเรียนทุกเรื่อง ทุกแขนงที่นักเรียนมีปัญหา จึงจะได้ชื่อว่าเป็นครูอย่างแท้จริง
          7.โน  จัฏฐาเน  นิโยชเย  เป็นผู้ไม่แนะนำในทางที่ผิด  ครู คือผู้ชี้ทางอันประเสริฐ ครูจึงเปรียบเสมือนเพื่อน พี่ น้อง และผู้ที่เคารพบูชาทั้งหลาย เป็นที่ปรึกษาที่สูงสุด เป็นบุรุษผู้ทรงคุณ เป็นผู้เอื้อเฟื้อและหนุนส่ง ครูจึงจะต้องเป็นผู้แนะนำสิ่งที่ดีงาม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์นำความเจริญรุ่งเรืองมาแก่ชีวิตของนักเรียนหรือลูก ศิษย์
            คุณธรรม  7  ประการนี้ พระ พุทธองค์ ตรัสสอนให้ผู้ที่จะเป็นครูหรือผู้สอนคนอื่น ได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ที่หนักยิ่ง แต่เป็นการบำเพ็ญคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพราะการเป็นครู ถือว่า เป็นผู้ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ ทำคนให้เป็นคน ทำคนชั่วให้เป็นคนดี ทำให้คนมืดบอดให้สว่างไสว ชื่อว่าเป็นการให้ธรรมเป็นทาน เพราะทานในพระพุทธศาสนานั้น ได้กำหนดหลักใหญ่ไว้  อย่าง คือ อามิสทาน การให้สิ่งของเป็นทาน และธรรมทาน การให้ธรรมเป็นทาน การสั่งสอนคนอื่น การแนะนำคนอื่นในสิ่งที่เป็นประโยชน์ แนะนำในสิ่งที่ดีงาม ก็ถือว่าเป็นการให้อย่างหนึ่ง คือ เป็นธรรมทาน ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญยิ่งนักว่า เป็นการให้อันสูงสุด

            ที่กล่าวมานี้ เป็นคุณธรรมที่คุณครูทุกท่านจะต้องมี และขอฝากสิ่งที่คุณครูควรงดเว้น คือ

          1.ไร้มารยาท  คือ ผู้จะทำหน้าที่ครูนั้น จะต้องเป็นผู้มีมารยาทอันดีงาม เป็นผู้รู้จักทำนองคลองธรรมเป็นอย่างดี ไม่เป็นคนไร้มารยาท ควรเป็นผู้มีมารยาทงามทั้งที่เข้าสังคมและเฉพาะตัว
          2.ขาดการเตรียมตัว  จะ ต้องตระหนักให้ดีว่า เราเป็นครู หน้าที่ของครูเบื้องต้นก็คือการเตรียมการสอน การเขียนแผนการสอน การกะเกณฑ์หรือวางแผนไว้ล่วงหน้าว่า จะทำการเรียนการสอนอย่างไร การเรียนของนักเรียนจึงจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  และมีประสิทธิภาพ
          3.มั่วในหน้าที่  ครู พึงสังวรระวังถึงหน้าที่และบทบาทของตนเองให้ดี อย่าได้แสดงบทบาทหรือหน้าที่ที่ไม่ใช่ของตนเอง พูดง่าย ๆ ก็คือการรู้รักหน้าที่ของตนเอง
4.มีจิตห่างธรรม  สิ่ง ที่ครูจะต้องมีในจิตใจ ก็คือคุณธรรม หากเราขาดคุณธรรมประจำใจแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ย่อมจะไม่ได้ผล หรือผลเสียต่าง ๆ ก็จะตามมามากมาย การทำหน้าที่ที่ถูกต้องก็คือการปฏิบัติอย่างหนึ่งเช่นกัน หรือการที่เราทำหน้าที่ของเราไม่ขาดก็คือการมีธรรมประจำใจแล้ว
          5.ชอบถลำล่วงวินัย  การ ที่เราจะเป็นครูได้จะต้องเป็นคนที่มีวินัยในตนเอง รู้จักรักษากติกา หรือกฎระเบียบต่าง ๆ เริ่มต้นจากการตรงต่อเวลา มาปฏิบัติงานตามเวลาที่สถานศึกษากำหนด เข้าสอนตามตารางที่กำหนด ไม่ออกก่อนเวลา ไม่ทอดทิ้งหรือละทิ้งหน้าที่ของตนเอง จะออกจากโรงเรียนก่อนเวลาที่กำหนดต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชา มิใช่คิดจะไปไหนก็ไปตามอำเภอใจ ต้องปฏิบัติตนตามระเบียบของทางราชการ
            6.มีใจรวนเร  แม่ พิมพ์ของชาติจะต้องเป็นผู้มีใจหนักแน่นแน่นอนในการให้ความรู้ ไม่มีจิตใจรวนเร เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ข้อนี้หมายถึงครูจะต้องเป็นผู้มีเหตุผลในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือเกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ
            7.ไม่ชวนสร้างสรรค์  คือ ครูจะต้องเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคม หรือคนอื่น รู้จักการพัฒนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งในกระบวนการเรียนการสอน และการพัฒนาโรงเรียน
          8.ขยันแซวศิษย์  สิ่ง สุดท้ายขอฝากสำหรับครู คือการทำหน้าที่ครูนั้น ข้อสำคัญคือ อย่าได้ทำตัวเป็นหนุ่มโสดเพื่อหวังอะไรบางอย่างกับลูกศิษย์ที่เป็นผู้หญิง เราจงคิดเสมอว่า เราจะให้ความรู้แก่ลูกศิษย์เสมอกันหมดไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือชาย คือต้องไม่มีอคติ
            อย่าง ไรก็ตาม ชีวิตคือการต่อสู้ เราจะต้องพยายามประกอบคุณงามความดี ไม่ว่าเราจะอยู่ในอาชีพไหน จะต้องพยายามรักษาความดีเอาไว้ รักศักดิ์ศรีของตนเอง การเป็นครูนั้น ใช่ว่าจะเป็นงานไม่หนัก แต่หากเราทำเป็นประจำอยู่แล้ว ก็จะกลายเป็นความเคยชิน ไม่มีความหนักหนาอะไร การประกอบอาชีพอะไรสักอย่าง หากทำด้วยความรักและศรัทธาในอาชีพของตนแล้ว ผลที่ออกมาย่อมเป็นที่ประทับใจ และน่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ขอฝากให้คณะครูนำเอาคุณธรรมทั้ง 7 ประการ ที่กล่าวมานี้ไปประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อความสมบูรณ์แห่งหน้าที่ความเป็นครู เมื่อเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราควรลดความเห็นแก่ตัวลงบ้าง ควรเฉลี่ยประโยชน์แก่ส่วนรวมบ้าง ด้วยการคิดให้แก่คนอื่น ควรเป็นผู้ยินดีในการให้ เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับ
            ครู คือผู้ให้ ให้ทั้งความรัก ความอบอุ่น ให้ความรู้ ให้แบบอย่าง ให้คำแนะนำพร่ำสอน ด้วยความเมตตาและห่วงใย ครูพึงสำรวมระวังในการดำเนินชีวิต ควรมีสติ ระลึกอยู่เสมอว่า เราเป็นใคร กำลังทำอะไร ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ควรมีศีล มีความเพียรพยายามทำหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์ แสดงบทบาทให้สมกับที่คนอื่นยกย่องว่าเป็นครู สิ่งที่สำคัญในการวางตัวของครูคือความเที่ยงธรรม ไม่มีอคติในการทำการเรียนการสอน คือครูต้องวางตัวเป็นกลาง นอกจากนี้ครูต้องพยายามค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ ไม่หยุดอยู่เฉพาะในตำราเท่านั้น จะต้องให้สมกับที่บอกว่า ครูคือผู้รอบรู้
            นอกจากที่ครูจะประกอบด้วยคุณธรรมทั้ง  ประการ ที่กล่าวมาแล้ว ขอนำคุณธรรมอื่น ๆ มาเพิ่มเติมให้อีกเพื่อเป็นอาภรณ์ประดับกาย วาจา ใจ ให้ชีวิตของครูประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน คือ สอนศิษย์ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในอาชีพส่วนตัว ชีวิตครอบครัว  มีความสุขและเป็นที่ยอมรับของสังคม
            หลักธรรมที่นำมาฝากครูในครั้งนี้ ขอแบ่งออกเป็น  ด้าน คือ
          1.หลักธรรมสำหรับการครองตน
          2.หลักธรรมสำหรับการครองคน
          3.หลักธรรมสำหรับการครองงาน


แหล่งที่มา : http://www.kroobannok.com/blog/21656


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น